5 สิ่งง่ายๆ ในการเตรียมการก่อนการติดตั้ง “ระบบบ้านอัจฉริยะ FIBARO”
S1 คือ ช่องสำหรับรับไฟจากสวิตช์เดิมเพื่อ On/Off
S2 คือ ช่องสำหรับรับไฟจากสวิตช์เดิมเพื่อ On/Off
O2 คือ ช่องสำหรับจ่ายไฟไปหาหลอดไฟ
O1 คือ ช่องสำหรับจ่ายไฟไปหาหลอดไฟ
Ln คือ ช่องสำหรับรับไฟ 220 (L) เข้าเพื่อเลี้ยงอุปกรณ์
L คือ ช่องสำหรับรับไฟ 220 Line เข้าเพื่อเลี้ยงอุปกรณ์
N คือ ช่องสำหรับรับไฟ 220 N เข้าเพื่อเลี้ยงอุปกรณ์
*L&N จำเป็นต้องมี เพื่อเป็นไฟเลี้ยงอุปกรณ์สำหรับทำงาน
1. สายนิวตรอน (Neutral)
สายนิวตรอน (Neutral) เป็นสายศูนย์ ไม่มีไฟ แต่ก็ไม่ใช่สายดิน ยกตัวอย่างการเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า 1 ขาเป็น Line , 1 ขาเป็น Neutral ดังภาพประกอบด้านบน
– โดยจะต้องทำการเตรียมสายนิวตรอนไว้ที่ตำแหน่งสวิตช์ไฟดัง (ภาพที่ 1 ด้านขวา) ในทุกตำแหน่งที่ต้องการติดตั้งระบบ เนื่องด้วยอุปกรณ์ที่จะทำการติดตั้งนั้น ทำหน้าที่คล้ายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆไป จึงจำเป็นต้องมีสายไฟที่ครบวงจร แต่ระบบแสงสว่างตามบ้านทั่วไปจะไม่มีสายนิวตรอนที่บริเวณนั้นดัง (ภาพที่ 1 ด้านซ้าย)
2. ขนาด Box สำหรับจุดติดตั้งสวิตช์ไฟ
– ขนาด Box สำหรับใส่อุปกรณ์ควบคุมแสงสว่าง (Relay) ควร กว้าง 4 นิ้ว สูง 2 นิ้ว และลึก 2 นิ้ว (4”x2”x2”) ขึ้นไป ซึ่ง Handy Box (box เหล็กที่มีขายทั่วไป) นั้นมีความลึกไม่ถึง
– ในกรณีแบบนี้อาจทำการเจาะกำแพงให้มีความลึกมากกว่าขนาด box ได้
*ภาพดังกล่าวจะแสดงให้เห็นว่า Box จะถูกฝังลึกกว่าเนื้อขอบกำแพง
3. สวิตช์หิ่งห้อย
สวิตช์หิ่งห้อย หรือ สวิตช์ที่มีไฟแสดงสถานะในเวลากลางคืน
สวิตช์ชนิดนี้จะทำให้มีปัญหาในการควบคุม Relay ในระบบบ้านอัจฉริยะ
เนื่องจาก LED ที่แสดงสถานะ จะทำการกินกระแสอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Relay ไม่ทราบสถานะของสวิตช์ที่แท้จริง
*** ทดสอบกับสวิตช์ของ Panasonic จะมีปัญหาตรงจุดนี้ทุกรุ่น
แต่หากต้องการใช้งาน สามารถแก้ไขได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ “Bypass” เข้าไปได้
4. ไฟ 2 ทาง
ในกรณีที่ต้องการติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะที่ตำแหน่งสวิตช์ไฟ 2 ทางต้องติดตั้งที่ตำแหน่งปลายทางของระบบ
*** โดยปกติแล้วตำแหน่งที่ติดตั้งต้องเพิ่ม
– สายนิวตรอน ดังหัวข้อที่ 1
แต่ที่ตำแหน่งปลายทางของไฟ 2 ทาง หากตำแหน่งนั้นไม่มีสวิตช์ปกติอื่นๆ (ทางเดียว) ที่ตำแหน่งนั้นจะไม่มีสายเมนไฟ เพราะฉะนั้นต้องเพิ่มสาย L (เมนไฟ) ที่ปลายทางเข้ามาด้วยที่ตำแหน่งนี้