FIBARO Dimmer 2

Description and features

Important safety information

Description

Features

Technical data

ไฟเลี้ยง: 100-240 V~ 50/60 Hz
การใช้พลังงาน: < 1.3W
อุณหภูมิขณะทำงาน: 0-35°C
ขนาด (ยาว x กว้าง x สูง): 42.5 x 38.25 x 20.3 mm
ขนาดในบ็อกซ์: Ø ≥ 50mm
ขนาดกระแสที่รองรับ: 0.25-1.1A
อุณหภูมิสูงสุดที่รับได้: 105°C
การป้องกันกระแสเกิน: ต้องการ breaker ขนาด 10A
อุปกรณ์ภายใน: semiconductor electronic switch
การควบคุมอุปกรณ์: ระยะไกล – คลื่นวิทยุ
โดยตรง – สวิตช์ภายนอก
โปรโตคอลที่ใช้: Z-Wave
กำลังคลื่นวิทยุ: ประมาณ 1mW
ความถี่คลื่นวิทยุ: 868.4, 869.85 MHz EU;
908.4, 916.0 MHz US;
921.4, 919.8 MHz ANZ;
ระยะทำการ: ประมาณ 50 เมตร ภายนอก
ประมาณ 30 เมตร ภายใน
(ขึ้นอยู่กับวัสดุของสิ่งปลูกสร้าง)
มาตรฐานของ EU ต่างๆ: RoHS 2011/65/EU
LVD 2006/95/EC
EMC 2004/108/EC
R&TTE 1999/5/EC

Supported loads

อุปกรณ์ FIBARO Dimmer 2 อาจเกิดความเสียหายได้หากต่อกับโหลดที่อยู่นอกเหนือจากข้อมูลทางเทคนิค

เมื่อติดตั้ง FIBARO Dimmer 2 ควรทำตามข้อกำหนดดังนี้

  • ห้ามต่อโหลดที่กินไฟมากกว่าหรือน้อยกว่าข้อมูลที่ระบุไว้
  • ห้ามต่อโหลดคนละแบบในวงจรเดียวกัน
  • ห้ามจ่ายไฟในขณะที่ยังไม่ได้ต่อโหลด
  • ห้ามต่อตัวแปลงไฟ(Transformer) มากกว่า 1 ตัว
  • เมื่อต่อหม้อแปลงแม่เหล็กไฟฟ้า(Magnetic Transformer) ควรใช้โหลดที่ใช้พลังงานอย่างน้อย 50% ของ Transformer
  • ควรลดการใช้ หม้อแปลงอิเล็คทรอนิกส์ในวงจรให้น้อยที่สุด สัญญาณรบกวน(noise) อาจทำให้มีปัญหากับการทำงานของ Dimmer 2 ได้

FIBARO Dimmer 2 ใช้โหมดการควบคุมแบ่งตามประเภทของโหลดดังนี้

  • “Trailing edge” สำหรับโหลดประเภท resistive loads (R)
  • “Trailing edge” สำหรับโหลดประเภท resistive-capacitive loads (RC)
  • “Leading edge” สำหรับโหลดประเภท resistive-inductive loads (RL)

หลอด LED หรือ คอมแพ็คฟลูออเรสเซ้นต์บางประเภทถูกออกแบบมาให้ทำงานในโหมด “Leading edge”

FIBARO Dimmer 2 สามารถใช้กับโหลดเหล่านี้เท่านั้น

  • 230V หลอดไส้และหลอดฮาโลเจน
  • 12V ELV(Electronic Low-Voltage) ฮาโลเจน และ หลอด LED แบบหรี่ได้ ที่มาพร้อมกับหม้อแปลงอิเล็คทรอนิกส์
  • 12V MLV(Magnetic Low-Voltage) ฮาโลเจน ที่มาพร้อมกับหม้อแปลงแม่เหล็กไฟฟ้า
  • หลอด LED(E27) แบบหรี่ได้
  • หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซ้นต์ (CFL) แบบหรี่ได้ (มีทั้งแบบตะเกียบและหลอดธรรมดา)
  • รองรับ หลอดชนิดต่างๆที่สามารถหรี่ได้โดยมี power factor > 0.5 ที่มีพลังงานไฟฟ้าขั้นต่ำ 5VA โดยใช้คู่กับ FIBARO Bypass 2(โดยขึ้นอยู่กับชนิดของโหลด)
FIBARO Dimmer 2 รองรับเฉพาะหลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซ้นต์ (CFL) (ส่วนใหญ่คือหลอดตะเกียบ) และหลอดฟลูออเรสเซ้นต์แบบมีหม้อแปลงอิเล็คทรอนิกส์(เซ็ททรอนิกส์) เท่านั้น ห้ามใช้กับหลอดฟลูออเรสเซ้นต์อื่นๆ นอกเหนือจากนี้ (เช่น หลอดผอมที่มีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์)

FIBARO Dimmer 2 รองรับโหลดชนิดอื่นๆที่ไม่สามารถหรี่ได้ด้วย ดังนี้

  • หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซ้นต์ (CFL) ที่มาพร้อมกับบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์
  • หลอดผอมฟลูออเรสเซ้นต์ ที่มาพร้อมกับบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์(เช่น หลอด Setronic)
  • หลอด LED(E27) ที่มี power factor > 0.7
  • รองรับ หลอดชนิดต่างๆที่สามารถหรี่ได้โดยมี power factor > 0.5 ที่มีพลังงานไฟฟ้าขั้นต่ำ 5VA โดยใช้คู่กับ FIBARO Bypass 2(โดยขึ้นอยู่กับชนิดของโหลด)

ค่าพลังงานไฟฟ้าของโหลดที่แนะนำ

Supported load types 220-240V~
Resistive loads
หลอดไส้และหลอดฮาโลเจน 230V
50-250W
Resistive-capacitive loads
หลอดตะเกียบ, Setronic, หม้อแปลงไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์, LED(E27)
50-200VA
Resistive-inductive loads
หม้อแปลงแม่เหล็กไฟฟ้า
50-220VA

Installation

Installation

ติดตั้ง FIBARO Dimmer 2 ต่างออกไปจากคู่มืออาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย, ชีวิต หรือทรัพย์สินได้

เมื่อติดตั้ง FIBARO Dimmer 2 ควรทำตามเงื่อนไขดังนี้

  • เชื่อมต่อตามแผนภาพแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น
  • การติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า ต้องมีฟิวส์ควบคู่ไปด้วยเสมอ โดยมีขนาดไม่เกิน 10A
  • Dimmer 2 ควรติดตั้งภายในบ็อกซ์สวิตช์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัย และความลึกไม่น้อยกว่า 60มม.
  • สวิตช์ที่ใช้ควรได้รับมาตรฐานความปลอดภัย
  • ขนาดความยาวของสายไฟระหว่าง Dimmer 2 และสวิตช์ที่ใช้ควบคุมควรยาวไม่เกิน 20 เมตร

 

สัญลักษณ์ต่างๆในแผนภาพ

  L – ขั้วสำหรับสายเมนไฟ (สายมีไฟ) install1-0
S1 – ขั้วสำหรับสวิตช์ 1 (สามารถใช้ในการเพิ่มอุปกรณ์ได้)
S2
– ขั้วสำหรับสวิตช์ 2
Sx – ขั้วสำหรับจ่ายไฟให้กับสวิตช์ที่เชื่อมต่อกับ Dimmer 2
  N – ขั้วสำหรับสายนิวตรอน
regout – ขั้วสำหรับต่อกับโหลด (ควบคุมหลอดไฟที่เชื่อมต่อ)
  B – ปุ่มเมนู (ใช้เพื่อเพิ่ม/ลบอุปกรณ์จากตัวระบบ หรือเข้าเมนูต่างๆ)

 

การติดตั้ง FIBARO Dimmer 2:

  1. ปิดเมนไฟ (เบรคเกอร์)
  2. เปิดหน้ากากสวิตช์ออก
  3. เชื่อมต่ออุปกรณ์ตามแผนภาพใดแผนภาพหนึ่งด้านล่างนี้
  4. ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยจึงทำการเปิดเมนไฟ (เบรคเกอร์)
  5. รอประมาณ 30 วินาที สำหรับการปรับตั้งค่าอัตโนมัติ หลอดไฟอาจกระพริบในช่วงการทำงานนี้
  6. หลังจากเสร็จสิ้นการตั้งค่าอัตโนมัติ อุปกรณ์จะทำการปิดไฟลงโดยมาตรฐาน
  7. เพิ่มอุปกรณ์เข้าสู่ระบบ Z-Wave
  8. ปิดเมนไฟ (เบรคเกอร์) แล้วทำการจัดตำแหน่งและสายเสาอากาศภายในบ็อกซ์สวิตช์ให้เรียบร้อย
  9. ปิดบ็อกซ์สวิตช์ และทำการเปิดเมนไฟ (เบรคเกอร์)

หลังจากทำการเปิดเมนไฟ (เบรคเกอร์) ไฟสถานะจะแสดงสัญญาณการเชื่อมต่อกับ Z-Wave ดังนี้

  • สีเขียว – อุปกรณ์ถูกเพิ่มเข้าไปแล้ว
  • สีแดง – อุปกรณ์ไม่ถูกเพิ่ม
  • สีแดง/สีเขียว สลับไปมา – Z-Wave มีความผิดพลาด

สวิตช์ที่ต่ออยู่กับขั้ว S1 คือสวิตช์หลัก สามารถใช้งานฟังก์ชั่นพื้นฐานต่างๆได้ (เปิด/ปิดไฟ, หรี่ไฟ) และเข้าสู่โหมดเรียนรู้(เพิ่ม/ลบออกจากระบบ) สำหรับ สวิตช์ที่ต่ออยู่กับขั้ว S2 เป็นสวิตช์เสริม จะไม่สามารถใช้งานอะไรได้ จนกว่าจะไปตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆของอุปกรณ์ในตัวโปรแกรม

 

แผนภาพการเข้าสายแบบที่ 1 – การต่อแบบไม่มีสายนิวตรอน

install1-1

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนภาพการเข้าสายแบบที่ 2 – การต่อแบบมีสายนิวตรอน

install1-2

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนภาพการเข้าสายแบบที่ 3 – การต่อเพิ่ม FIBARO Bypass (FGB-002)

install1-3

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนภาพการเข้าสายแบบที่ 4 – การต่อสวิตช์ 2-3 ทาง (เช่น ไฟบันได)

install1-4

 

ไม่แนะนำให้ติดตั้งสวิตช์หลายประเภท (เช่นสวิตช์ปิด/เปิดธรรมดา, สวิตช์กดติด-ปล่อยดับ, อื่นๆ) ในการเชื่อมต่อแบบ 2-3 ทาง

 

แผนภาพการเข้าสายแบบที่ 5 – การต่อสวิตช์แบบกดติด-ปล่อยดับ(สวิตช์กริ่ง) แบบไม่จำกัดจำนวน

install1-5

 

 

 

 

 

 

 

Arranging the antenna

  • จัดวางเสาอากาศให้อยู่ห่างจากโลหะมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (สายไฟ, แหวนครอบท่อ, อื่นๆ) เพื่อไม่ให้รบกวนคลื่นสัญญาณ
  • พื้นผิวโลหะในทิศทางของเสาอากาศ (เช่น บ็อกซ์เหล็ก, ประตูเหล็ก) อาจทำให้สัญญาณดร็อปลง
  • ห้ามทำการตัดหรือลดทอนเสาอากาศลง – ความยาวของมันให้ถูกคำนวณมาให้เหมาะกับคลื่นที่ใช้งานแล้ว

Z-Wave network

Adding to the network

เพิ่ม (Inclusion) – อุปกรณ์ Z-Wave เข้าสู่โหมดเรียนรู้ เพื่อการเพิ่มตัวเองเข้าสู่ระบบ Z-Wave

สำหรับการเพิ่มอุปกรณ์เข้าสู่ระบบ Z-Wave ทำได้โดย

  1. วาง Dimmer 2 ให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ควบคุมระบบ(Home Center) โดยตรง ( ไม่เกิน 5 เมตรหากทำการติดตั้งในบ็อกซ์สวิตช์แล้ว )
  2. ตรวจสอบสวิตช์ 1 (ที่สามารถเปิด-ปิดไฟได้) หรือปุ่มเมนู(B-Button บนตัวอุปกรณ์)
  3. ตั้งค่าให้ Home Center เข้าสู่โหมดเรียนรู้ (add/remove device)
  4. กดสวิตช์ 1 หรือปุ่มเมนู 3 ครั้งอย่างรวดเร็ว
  5. รอให้ระบบทำงานจนเสร็จ
  6. หากทำการเพิ่มสำเร็จจะมีข้อความแจ้งที่ตัวโปรแกรมของ Home Center
หากทำการเพิ่มตัว Dimmer 2 เข้าสู่ระบบโดยใช้สวิตช์ปิด-เปิดธรรมดา ให้แน่ใจว่าสวิตช์ได้ถูกปิดอยู่ ไม่งั้นจะทำให้ไม่สามารถเพิ่ม/ลบ อุปกรณ์ได้

สำหรับการใช้งานโดยใช้สวิตช์ปิด-เปิดธรรมดา ต้องกดเพิ่ม/ลบ ด้วยการกดเปลี่ยนสถานะ 6 ครั้ง (เช่น เปิด-ปิด-เปิด-ปิด-เปิด-ปิด) ภายใน 2 วินาที

หากเกิดปัญหาในการใช้สวิตช์ในการเพิ่ม/ลบ แนะนำให้ใช้งาน ปุ่มเมนู (B-Button) แทน

หากต้องการทำการเพิ่มในรูปแบบนิรภัย (security mode) ต้องทำการเพิ่ม ในระยะไม่เกิน 2 เมตรจาก Home Center

Removing from the network

ลบ (Inclusion) – อุปกรณ์ Z-Wave เข้าสู่โหมดเรียนรู้ เพื่อการลบตัวเองออกจากระบบ Z-Wave

การลบ Dimmer 2 ออกจากระบบ Z-Wave ทำการคืนค่าพารามิเตอร์กลับไปค่าเริ่มต้นทั้งหมด แต่จะไม่คืนค่าในส่วนของการวัดพลังงาน

สำหรับการลบอุปกรณ์ออกจากระบบ Z-Wave ทำได้โดย

  1. วาง Dimmer 2 ให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถเชื่อมต่อกับ อุปกรณ์ควบคุมระบบ(Home Center) โดยตรง ( ไม่เกิน 5 เมตรหากทำการติดตั้งในบ็อกซ์สวิตช์แล้ว )
  2. ตรวจสอบสวิตช์ 1 (ที่สามารถเปิด-ปิดไฟได้) หรือปุ่มเมนู(B-Button บนตัวอุปกรณ์)
  3. ตั้งค่าให้ Home Center เข้าสู่โหมดเรียนรู้ (add/remove device)
  4. กดสวิตช์ 1 หรือปุ่มเมนู 3 ครั้งอย่างรวดเร็ว
  5. รอให้ระบบทำงานจนเสร็จ
  6. หากทำการเพิ่มสำเร็จจะมีข้อความแจ้งที่ตัวโปรแกรมของ Home Center
  7. Dimmer 2 จะทำการคืนค่าโดยอัตโนมัติ

Range test

Operating the device

ALL ON/ALL OFF

Controlling using the B-button

Controlling using an external switch

Menu

Calibration

FIBARO Home Center controller

Reset

Additional feature

Power and energy consumption

Software update

Operating alarm data frames

Error modes

Configuration

Association

Advanced Parameter

Support

FAQ