บ้านอัจฉริยะได้ถูกเขียนเป็นนิยายแนววิทยาศาสตร์มามากกว่าหลายปีแล้วแต่ก็ยังเป็นได้แค่ระบบทดสอบมาตลอด จนถึงยุคต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเข้าสู่ภาคครัวเรือน และการเติบโตอย่างรวดเร็วของระบบเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร จึงทำให้แนวคิดเรื่องบ้านอัจฉริยะเริ่มถูกนำมาทดลองสร้างให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งแนวคิดของบ้านอัจฉริยะในยุคต้นถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีในยุคนั้นจึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

      แต่หลังจากได้มีการคิดค้นไมโครคอนโทรลเลอร์ขึ้น ทำให้ราคาของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคถูกลงอย่างมาก ทำให้ผู้ผลิตต่างๆหันมาสนใจและพัฒนาระบบบ้านอัจฉริยะกันอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งปี ค.ศ. 1990 กระแสเรื่องบ้านอัจฉริยะก็ลดลงอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากอุปกรณ์ต่างๆมีความซับซ้อนยุ่งยาก จึงทำให้ราคาค่าก่อสร้างค่อนข้างสูง จึงถูกมองว่าเป็นได้แค่ของเล่นสำหรับคนรวย และทำให้ผู้คนทั่วไปไม่กล้าแม้แต่จะคิดซื้อ หลังจากได้มีการพัฒนาสมาทร์โฟนขึ้นมาปัญหาความซับซ้อนต่างๆจึงหมดไปทำให้สินค้าบ้านอัจฉริยะต่างๆถูกนำออกมาวางตลาดมากมาย โดยสถาบันวิจัย ABI RESEARCH ได้มีการสำรวจที่ประเทศอเมริกา ว่าประชากร 1.5 ล้านครัวเรือนได้มีการติดตั้งอุปกรณ์บ้านอัจฉริยะไปแล้วในปี ค.ศ. 2012 และคาดการณ์ว่าปี ค.ศ. 2017 จะผู้ติดตั้งเพิ่มอีก 8 ล้านครัวเรือนทีเดียว